วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้น

คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยให้

1.การติดต่อสื่อสาร เพื่อสืบค้นข้อมูล เพื่อบันเทิง
2.การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นฐานข้อมูล  แล้วสืบค้นได้
3.สามารถเก็บข้อมูล ปรับปรุงแก้ไข ได้โดยง่าย 
4.การคำนวณตัวเลข ถูกต้อง แม่นยำ
5. การทำงานเอกสารที่ซ้ำๆ ได้อย่างรวดเร็ว 


ขั้นตอนการทำงานที่สำคัญของคอมพิวเตอร์

1. การรับข้อมูลและคำสั่ง (Input) คือ คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล

    ตัวอย่างของอุปกรณ์รับข้อมูลและคำสั่ง  Mouse, Keyboard, Scanner, Microphone

2. การประมวลผลหรือคิดคำนวณ(Processing) คือ  ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวล     ผลโดยการทำงานของ       หน่วยประมวลผลกลาง (CPU : Central Processing Unit)  ตามคำสั่ง     ของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์  ตัวอย่างของอุปกรณ์ประมวลผลหรือคิดคำนวณ  CPU


3. การแสดงผลลัพธ์(Output)  คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน  หรือแสดงผลจาก       การประมวลผล  ทางอุปกรณ์แสดงผล ตัวอย่างของอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ Monitor, Printer,             Speaker




ข้อมูลและชนิดของข้อมูล


1.  ข้อมูลชนิดตัวเลข หมายถึง ข้อมูลที่เป็นชุดของตัวเลขซึ่งประกอบด้วย  ตัวเลขจำนวนเต็ม  ตัวเลข      ที่มีจุดทศนิยม  รวมทั้งตัวเลขที่มีค่าเป็นบวกหรือลบด้วย  ยกตัวอย่างเช่น  integerจำนวนเต็มบวก         และจำนวนเต็มลบ เลขฐานสิบ ฐานแปด และฐานสิบหก


2.  ชนิดข้อมูลแบบอักขระ  คือชนิดข้อมูลที่เป็นอักขระ อาจจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กและ          ใหญ่  ยกตัวอย่างเช่น  เก็บจำนวนตัวเลข และ ข้อความ


3.   เครื่องหมายคณิตศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ ^  คือ  ยกกำลัง   -   คือ  ลบ     *  คือ  คูณ    /  คือ   หาร         mod คือ  หารเอาเศษ   +   คือ บวก   -  คือ   ลบ



แนวคิดและหลักการออกแบบโปรแกรม




  1. วิเคราะห์ความต้องการ เป็นการหาความต้องการของผู้ใช้ว่าต้องการให้ซอฟแวร์ ทำอะไรได้บ้าง 
  2. ออกแบบระบบ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากความต้องการ เพื่อหาว่า คอมพิวเตอร์ที่ใช้ควรมีความสามารถเท่าไร ต้องการเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลเท่าไร การเก็บข้อมูลจะทำอย่างไร จะมีหน้าจอ รับข้อมูล แบบใดบ้าง
  3. เขียนโปแกรม เป็นการเปลี่ยนข้อกำหนดโปรแกรม ให้การเป็น ตัวโปรแกรม ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามคำสั่งเหล่านั้นได้
  4. ทดสอบ เป็นขบวนการตรวจสอบว่า โปรแกรม ทำงานได้ถูกต้องตามข้อกำหนด การทดสอบโปรแกรม มีหลายวิธี เช่น การอ่านทบทวนโปรแกรม การสร้างข้อมูลจำลองและหาผลการทำงาน การทดสอบย่อยแต่ละส่วน การทดสอบรวมทั้งระบบ
  5. บำรุงรักษาโปรแกรม เป็นการรับรายงานข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และบันทึกไว้ แก้ไขโปรแกรม และ ส่งโปรแกรมที่แก้ไขให้ผู้ใช้ และ เพิ่มความสามารถการทำงานของโปรแกรมให้ทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น



อัลกอริทึม (Algorithm)

อัลกอริทึม (Algorithm) หมายถึงวิธีการหรือกระบวนการทำงานใดงานหนึ่งที่สามารถ
แบ่งขั้นตอนออกเป็นย่อย ๆที่แน่นอนซึ่งเมื่อทราบขั้นตอนการทางานที่แน่นนอนแล้วก็จะนำ
Algorithm ที่ได้นั้น มาวาดเป็น Flowchart จากนั้นจึงแปลง Flowchart เป็นภาษาระดับสูงที่
คอมพิวเตอร์เข้าใจ
ขั้นตอนในการพัฒนาลำดับขั้นตอนิธีการแกปัญหานับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอน
หนึ่ง เพราะเป็นขั้น ตอนที่นำ วิธีการแกปัญหาที่ได้ทำการทดลองหาวิธีการแกปัญหาในส่วนของการ
ทดลองแกป้ ัญหาดว้ยตนเอง (Hand Example) มาทา การเรียบเรียงลา ดบัข้นั ตอนการทางานของ
วธิีการแกปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้น ตอนสุดท้ายว่ มีล ดับขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง
เพื่อที่จะนำไปสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการแก้ไ้ขปัญหาด้วยวิธีการนี้

คำว่า Algorithm ในทางคณิตศาสตร์จะหมายถึงขั้น ตอนหรือวิธีการคำนวณสำหรับในการ
เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Algorithm จะหมายถึงวิธีการที่ได้แบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ ที่มีการ
ทำงานแน่นอน หรือการอธิบายลำดับขั้น ตอนการทำงานในลักษณะของข้อความ ตั้งแต่ต้นจนจบ
ว่า มีลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง Algorithm มาจากชื่อของนักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซีย
Abu Ja’ far Muhammad ibm al-Khwarizmi ผเู้ขียนหนงัสือเกี่ยวกบั เรื่องของจา นวนของชาวฮินดู
และอาหรับ “Aldorithmi de numero Indorum” (ภาษาลาติน) ซ่ึงแปลว่า “Al-Khwarizmi on
the Hindu Art of Reckoning” (ภาษาอังกฤษ) เป็นผู้เริ่มใชเ้ลขศูนย์ในระบบทศนิยม

ตัวอย่างการเขียนอัลกอริทึม

1.จงเขียนอัลกอริทึม ผังงาน รหัสเทียม เพื่อวนรับค่าจำนวนสินค้า (Amount) และราคาสินค้า (Price) แต่ละชนิด แล้วคำนวนหาค่ารวม(Tocal Price) และจำนวนรวม (Total Amount) ทั้งหมดของสินค้า กำหนดให้หยุดรับเมื่อใส่ค่าเป็น 0

1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ
ค่ารวม(Tocal Price) และจำนวนรวม (Total Amount) ทั้งหมดของสินค้า

2 รูปแบบผลลัพธ์
Tocal Price=00.00 , Total Amount=00.00

3 ข้อมูลนำเข้า
Amount , Price

4ประกาศตัวแปร
Amount , Price , Tocal Price , Total Amount ชนิด Real

5.การประมาวลผล
5.1 เริ่ม
5.2 ประกาศตัวแปร
Amount , Price , Tocal Price , Total Amount ชนิด Real
Tocal Price , Total Amount = 0
5.3 INPUT
Amount , Price ชนิด Real
5.4 ขั้นตอนการประมวลผล
5.4.2 Total Price = Total Price + Price
5.4.3 Total Amount = Total Amount + Amount
5.4.4 INPUT Amount , Price
5.4.5 IF Amount , Price = 0 จริงจบการรับค่า ไม่จริงทำ 5.4.2
5.4.6 Print Tocal Price , Total Amount
5.5. จบการประมวลผล

2. จงเขียนอัลกอริทึม ผังงาน รหัสเทียมเพื่อหาผลรวมของเลขคี่ตั้งแต่ 1-100

1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ
ผลรวมของเลขคี่ตั้งแต่ 1-100

2 รูปแบบผลลัพธ์
Total=00.00

3 ข้อมูลนำเข้า
VAR 1,VAR2,….VAR 100

4ประกาศตัวแปร
VAR= 1- 100 = INT
Total = INT

5.การประมาวลผล
5.1 เริ่ม
5.2 ประกาศตัวแปร
VAR =1-100 = INT
Total=INT
Total = 0
5.3 INPUT
VAR 1,VAR2,….VAR 100
5.4.ขั้นตอนการประมวลผล
For VAR=1-100
VAR=0
If VAR MOS 2 = 1 = TOTAL+VAR
END FOR
PRINT TOTAL
5.5 จบการประมวลผล

3.จงเขียนอัลกอริทึม ผังงาน รหัสเทียม เพื่ออ่านตัวเลข 3 ค่าที่แตกต่างกัน แล้วแสดงค่าตัวเลขที่มากที่สุด และ ตัวเลขที่น้อยที่สุดออกทางจอภาพ

1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ
ค่าตัวเลขที่มากที่สุด และ ตัวเลขที่น้อยที่สุด

2 รูปแบบผลลัพธ์
Sum_น้อย=00.00 Sum_มาก=00.00

3 ข้อมูลนำเข้า
Num_1,num_2,num_3

4ประกาศตัวแปร
Num_1,num_2,num_3 ชนิดreal
Sum_น้อยม,Sum_มาก ชนิด real

5.การประมาวลผล
5.1 เริ่ม
5.2 ประกาศตัวแปร
Num_1,num_2,num_3 ชนิดreal
Sum_น้อยม,Sum_มาก ชนิด real
Sum_น้อย,Sum_มาก =0
5.3 INPUT
Num_1,num_2,num_3
5.4 ขั้นตอนการประมวลผล
5.4.1 if Num_1<num_2and num_1<num_3ถ้าจริงให้ทำ sum_น้อย=sum_น้อย+Num_1แร้วทำ 5.4.2 ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.2
5.4.2 if Num_1>num_3 and num_1>num_3ถ้าจริงให้ทำ sum_มาก=sum_มาก+Num_1แร้วทำ 5.4.3 ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.3
5.4.3 if Num_2<num_1 and num_2<num_3ถ้าจริงให้ทำ sum_น้อย=sum_น้อย+Num_2แร้วทำ 5.4.4ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.4
5.4.4 if Num_2>num_3 and num_2>num_3ถ้าจริงให้ทำ sum_มาก=sum_มาก+Num_2แร้วทำ 5.4.5ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.5
5.4.5 if num_3<num_1 and num_3<num_2ถ้าจริงให้ทำ sum_น้อย=sum_น้อย+Num_3แร้วทำ 5.4.6 ถ้าไม่จิง ให้ทำ 5.4.6
5.4.6 if num_3>num_1 and num_3>num_2ถ้าจริงให้ทำ sum_มาก=sum_มาก+num_1แร้วทำ 5.4.7 ถ้าไม่จิง ให้ 5.4.7
5.4.7 end if
5.4.8.Print sum_น้อย,sum_มาก


ผังงาน (Flowchart Diagram)


ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ


ประโยชน์ของผังงาน1.ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน

2.ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
3.ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
4.ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น


สัญลักษณ์ต่าง ๆใน Program Flowchart 



จุดเริ่มต้น / สิ้นสุดของโปรแกรม
ลูกศรแสดงทิศทางการทำงานของโปรแกรมและการไหลของข้อมูล
ใช้แสดงคำสั่งในการประมวลผล หรือการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปร
แสดงการอ่านข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายใน เครื่องหรือการแสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมา
การตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจ โดยจะมีเส้นออกจารรูปเพื่อแสดงทิศทางการทำงานต่อไป เงื่อนไขเป็นจริงหรือเป็นเท็
แสดงผลหรือรายงานที่ถูกสร้างออกมา
แสดงจุดเชื่อมต่อของผังงานภายใน หรือเป็นที่บรรจบของเส้นหลายเส้นที่มาจากหลายทิศทางเพื่อจะไปสู่ การทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน
การขึ้นหน้าใหม่ ในกรณีที่ผังงานมีความยาวเกินกว่าที่จะแสดงพอในหนึ่งหน้า

ตัวอย่างการเขียนFlowchart 



Flowchart แบบDO WHILE




Flowchart แบบDO UNTIL